เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนในการฟื้นฟ ูและ พัฒนาประเทศ และโดยที่ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญขั้นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม รัฐบาลจึงได้มีมติให้สร้างเขื่อนอเนกประสงค์เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และ เพื่อประโยชน์ในด้านการชลประทานขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก โดยได้รับพระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อของเขื่อนแห่งนี้ว่า "เขื่อนภูมิพล"
การก่อสร้างเขื่อนภูมิพลจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์อย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000 ตัน ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดการขาดแคลนปูนซีเมนต์ในระหว่างการก่อสร้าง รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กรมชลประทานซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างเขื่อนภูมิพล ดำเนินการจัดตั้งโรงงานปูนซีเมนต์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อผลิตปูนซีเมนต์สำหรับใช้ในการก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้้
บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2499 ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 บริษัทฯ ได้ทำการก่อสร้างโรงงานปูนซีเมนต์แห่งแรกขึ้นที่ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางเหนือประมาณ 185 กิโลเมตร ในระยะแรกโรงงานมีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์วันละ 360 ตัน และต่อมาได้มีการปรับปรุงเป็นระยะๆ จนกระทั่งปัจจุบันนี้โรงงานตาคลีมีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ 2,700 ตันต่อวัน
เมื่อความต้องการปูนซีเมนต์ในประเทศมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด จึงได้สร้างโรงงานปูนซีเมนต์แห่งที่สองขึ้นที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร การก่อสร้างโรงงานชะอำเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2512 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2514 และ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงงาน เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ในระยะแรกโรงงานชะอำมีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ได้วันละ 1,560 ตัน ต่อมาได้มีการปรับปรุงเพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยการปรับปรุงในระยะแรกได้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2533 ทำให้มีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นเป็น 2,100 ตันต่อวัน และเมื่อการปรับปรุงในระยะที่สองแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2525 กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานชะอำจึงเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 2,700 ตัน
ปัจจุบันนี้ โรงงานปูนซีเมนต์ของบริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด ทั้งสองแห่งคือ โรงงานตาคลีและโรงงานชะอำ มีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์รวมกันทั้งสิ้นปีละ 2.3 ล้าน ตัน และผลิตปูนซีเมนต์ออกจำหน่ายหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท I ; บัวแดง , บัวแดง เอ๊กซ์ตร้า
- ปูนซีเมนต์ผสม; บัวเขียว, บัวฟ้า , บัวซูเปอร์
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท III ; บัวดำ
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท V ; บัวฉลาม
- ปูนซีเมนต์สำหรับงานขุดเจาะบ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ; Well Cement
- ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก; บัวแดงไฮเทค
- ปูนสำเร็จรูป บัวมอร์ตาร์ เบสิค มี 4 ประเภท
- บัวมอร์ตาร์ : ฉาบทั่วไป
- บัวมอร์ตาร์ : ก่อทั่วไป
- บัวมอร์ตาร์ : ฉาบอิฐมวลเบา
- บัวมอร์ตาร์ : ก่ออิฐมวลเบา
- ปูนสำเร็จรูป บัวมอร์ตาร์เทคนิคคอลมอร์ตาร์
- บัวมอร์ตาร์ กาวซีเมนต์ FIX
- บัวมอร์ตาร์ กาวซีเมนต์ FIX XL
- บัวมอร์ตาร์ สกิมโค้ท สีเทา
- บัวมอร์ตาร์ สกิมโค้ท สีขาว
ในปี พ.ศ. 2546 บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด และบริษัท ปูนซีเมนต์เอซีย จำกัด (มหาชน) ได้ผนวกการบริหารงานเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริการ เสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจ และรวมการบริหารจัดการทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ บัญชีและการเงิน การตลาดและการขาย การผลิต การจัดซื้อและจัดหา ทรัพยากรบุคคล และอื่นๆ ภายใต้การบริหารงานของทีมงานมืออาชีพ ทำให้ในปัจจุบันบริษัทฯ สามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ก้าวย่างแห่งการพัฒนา
โรงงานของเรา
โรงงานตาคลี
โรงงานปูนซีเมนต์ตาคลีเปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2501 บนเนื้อที่ 58 ไร่ ที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรค์ ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางเหนือประมาณ 185 กิโลเมตร และนับเป็นโรงงานปูนซีเมนต์ในภาคเหนือแห่งแรกของประเทศไทย
โรงงานตาคลีมีเหมืองหินปูนสองแห่งซึ่งอยู่ห่างจากตัวโรงงาน 0.8 กิโลเมตร และ 4.2 กิโลเมตรตามลำดับ โรงงานประกอบด้วยหม้อเผาแบบหมุนสองเครื่อง
โรงงานชะอำ
โรงงานปูนซีเมนต์ชะอำเปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2514 โรงงานตั้งอยู่ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร
เหมืองหินปูนของโรงงานชะอำตั้งอยู่ห่างจากโรงงานประมาณ 0.5 กิโลเมตร โรงงานชะอำมีหม้อเผาแบบหมุนจำนวนหนึ่งเครื่อง
การผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานตาคลีและโรงงานชะอำในระยะแรกใช้กรรมวิธีผลิตแบบเปียก (Wet Process) โดยต่อมาได้ปรับปรุงเป็นระบบเผาหมาด (Semi-Dry Process) ปัจจุบันโรงงานทั้งสองแห่งน ี้ใช้กรรมวิธีผลิตปูนซีเมนต์แบบแห้ง (Dry Process) และใช้ถ่านหิน / ลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงหลักแทนน้ำมันเตา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีขึ้น แต่มีต้นทุนการผลิตลดลง เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 โรงงานตาคลีได้ติดตั้งระบบเพื่อนำเอาแกลบ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านหินและ ลิกไนต์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในระยะแรกนี้จะนำแกลบมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิน / ลิกไนต์ในอัตราประมาณ 5% ก่อน